[Dis] อ๊างงง...น้องแมวคันหูทำไงดี !!!

จั่วหัวซะฮา แต่จริงๆ เรื่องคันหูของน้องแมวไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยนะคะ   cat_love heart_small เพราะถ้ามี”ไรหู” ละก็ ดีไม่ดีเจ้าวายร้ายอาจจะเข้าสมอง ทำให้น้องชักได้!!! น่ากลัวจริงๆ เลยนะคะนี่ ตาม CatLikeLove มาค่ะ

ก่อนหน้านี้ เราเคยคุยเรื่องทำความสะอาดหูน้องแมวกันไปบ้างแล้วนะคะ กับ”เรื่องขี้หู ที่ไม่ใช่เรื่องขี้ปะติ๋ววววววว !!!วันนี้ CatLikeLove ก็เอาบทความดีๆ เรื่องเกี่ยวกับหูของน้องแมวมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังต่อค่ะ

การดูแลหูและโรคช่องหูภายนอกอักเสบ  
สาเหตุของปัญหาหูอักเสบนั้น แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่  cat-happy

1. สาเหตุโน้มนำ
– ลักษณะโครงสร้างประจำพันธุ์ของสุนัขที่มีช่องหูตีบแคบ ใบหูพับลง หรือมีขนภายในช่องหูมาก

2. สาเหตุหลัก
เช่น ปรสิตภายนอก (เช่น เห็บ, หมัด หรือไรขี้เรื้อน), เชื้อโรค (เช่น แบคทีเรีย หรือรา) หรือ การแพ้ต่างๆ เช่น สิ่งสูดดม, อาหาร หรือสิ่งสัมผัส เป็นต้น
– การติดเชื้อแบคทีเรีย
– การติดเชื้อยีสต์หรือเชื้อรา
– การติดพยาธิภายนอก เช่น ไรขี้เรื้อนเปือก หรือไรขี้เรื้อนแห้ง เป็นต้น
– การแพ้ เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งตอบสนองไวเกินไป จัดเป็นสาเหตุหลักที่สำคัญของปัญหาหูอักเสบ ได้แก่ การแพ้สิ่งสูดดม การแพ้อาหาร การแพ้สิ่งสัมผัส หรือแพ้ยา
– สิ่งแปลกปลอมหรือการได้รับบาดเจ็บต่างๆ น้องอาจจะเกาหรือทำร้ายตัวเองจนเกิดบาดแผลและเป็นผลให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมาได้
– ความผิดปกติทางฮอร์โมน เนื่องจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน

การทำความสะอาดช่องหู  heart
ช่องหูของสุนัขและแมวจะลักษณะเป็นท่อรูปตัว L มักมีขนขึ้นมากในช่องหู ต้องถอนออกให้เรียบร้อย การใช้น้ำยาล้างหู โดยหยอดน้ำยาลงในช่องหูแล้วนวดเบาๆบริเวณโคนหูประมาณ30 วินาที แล้วจึงซับให้แห้งด้วยสำลีสะอาดและใช้ก้านไม้ที่พันด้วยสำลีที่ชุ่มน้ำยาทำความสะอาดช่องหู ทำซ้ำกันจนไม่พบว่ามีเศษเนื้อเยื่อ หรือขี้หูหลงเหลืออยู่ในช่องหูอีก หลังจากทำความสะอาดหูแล้ว ปล่อยให้เค้าสะบัดหู หรือสะบัดหัว สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เนื่องจากการเช็ดหูบ่อยเกินไปอาจทำให้เยื่อบุช่องหูระคายเคืองได้

การป้องกันโรคหู
ควรตรวจสอบช่องหูของสัตว์เลี้ยงเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ โดยถ้ามีขี้หูเพียงเล็กน้อยถือว่าเป็นสิ่งปกติ แต่ถ้าสัตว์เลี้ยงชอบเล่นน้ำมาก หรือมีใบหูยาวห้อย หรือมีประวัติโรคของช่องหู ควรทำความสะอาดช่องหูเป็นประจำ(2-3 ครั้งต่อสัปดาห์) นอกจากนี้ช่องหูที่มีขนยาวมากก็ควรตัดให้สั้น เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การรักษาโรคของช่องหูควรรักษา หรือกำจัดสาเหตุของโรค ซึ่งเป็นเหตุโน้มนำทำให้เกิดปัญหาของช่องหูจึงจะทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จและไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

การรักษา
การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ได้แก่
– การติดเชื้อแบคทีเรียจะรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมต่อชนิดของแบคทีเรียที่ก่อโรคนั้น
– การติดเชื้อยีสต์จะรักษาด้วยยาต้านเชื้อราแบบเฉพาะที่ในช่องหูเพียงอย่างเดียว ถ้าในกรณีติดเชื้อรุนแรงนั้นจะรักษาด้วยยาต้านเชื้อราแบบเฉพาะที่ในช่องหูร่วมกับการกินยาฆ่าเชื้อยีสต์ร่วมด้วย
– การติดไรในหู หลักสำคัญในการกำจัดไรในหูให้ได้ผลนั้น จะต้องจะรักษาด้วยยากำจัดไรทั้งที่อยู่ในช่องหูและตามส่วนอื่นของร่างกายด้วย ดังนั้นการหยอดหูเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้ยากำจัดปรสิตภายนอกที่อยู่ตามร่างกายร่วมด้วย
– การรักษาการแพ้ มักจะรักษาด้วยการหมั่นทำความสะอาดช่องหูอย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำยาทำความสะอาดหู กินยาแก้แพ้ และเสริมกรดไขมันบางชนิด บางครั้งอาจจำเป็นต้องให้ยาลดอักเสบที่มีผลกดระบบภูมิคุ้มกันร่วมด้วย กรณีปัญหาช่องหูที่เกิดมาจากโรคอื่นๆในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางฮอร์โมน หรือการแพ้ จะต้องให้การรักษาสัตว์ทั้งตัว ไม่เฉพาะแต่ช่องหู เช่น การรักษาการแพ้สิ่งสูดดมนั้น จะต้องตรวจทดสอบการแพ้แล้วพยายามหลีกเลี่ยงสารดังกล่าว หรือการเสริมฮอร์โมนที่ผิดปกติ เป็นต้น

อ๊ะๆๆ วันนี้คุณดูหูน้องแมวรึยัง?? แค่นี้เราก็สามารถป้องกันไม่ให้น้องแมวเป็นโรคหูได้แล้ว love-heart

 

Source :
โรงพยาบาลสัตว์ศาลายามหาวิทยาลัยมหิดล

Image source :
pets.thenest